เมนู

อรรถกถาตติยอาชานิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในตติยอาชานิยสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า.
จบอรรถกถาตติยอาชานิยสูตรที่ 7

8. อนุตตริยสูตร


ว่าด้วยอนุตริยะ 6


[279] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ (สิ่งยอดเยี่ยม) 6 นี้ อนุตริยะ
6 เป็นไฉน ? คือ ทัศนานุตริยะ (การเห็นยอดเยี่ยม) สวนานุตริยะ (การ
ฟังยอดเยี่ยม) ลาภานุตริยะ (การได้ยอดเยี่ยม) สิกขานุตริยะ (การศึกษา
ยอดเยี่ยม) ปาริจริยานุตริยะ (การปรนนิบัติอันยอดเยี่ยม) อนุสตานุตริยะ
(การระลึกยอดเยี่ยม). นี้แล ภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ 6.
จบอนุตตริยสูตรที่ 8

อรรถกถาอนุตตริยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอนุตตริยสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุตฺตริยานิ ความว่า (การเห็นเป็นต้น) ที่เว้นจากสิ่งอื่น
ที่ยิ่งกว่า ชื่อว่า นิรุตฺตรานิ. บทว่า ทสฺสนานุตฺตริยํ ความว่า (การเห็น
พระพุทธเจ้าเป็นต้น) เป็นการเห็นอย่างยอดเยี่ยม ในการเห็นรูปทั้งหลาย.
ในบททั้งปวง ก็มีนัยเช่นนี้. อธิบายว่า การเห็นช้างแก้วเป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็น
ทัศนานุตริยะ ส่วนการเห็น พระทศพลก็ดี ภิกษุสงฆ์ก็ดี ด้วยอำนาจความรัก
ที่มั่นคง การเห็นนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากสิณและอสุภนิมิตเป็นต้น
ก็ดี ของผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ชื่อว่า ทัศนานุตริยะ. การฟังคุณกถาของ
กษัตริย์เป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นสวนานุตริยะ ส่วนการฟังคุณกถาของพระรัตนตรัย
ด้วยสามารถแห่งความรักที่มั่นคงก็ดี การฟังพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฏก
ก็ดี ของผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ชื่อว่า สวนานุตริยะ. การได้แก้วมณีเป็น
ต้น ไม่เป็นลาภานุตริยะ ส่วนการได้อริยทรัพย์ 7 ชื่อว่าลาภานุตริยะ.
การศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างเป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นสิกขานุตริยะ ส่วนการ
บำเพ็ญสิกขา 3 ชื่อว่า สิกขนุตริยะ. การบำเรอกษัตริย์เป็นต้น ไม่
ชื่อว่าเป็น ปาริจริยานุตริยะ ส่วนการบำรุงพระรัตนตรัย ชื่อว่า ปาริจริยา-
นุตริยะ.
การระลึกถึงคุณของกษัตริย์เป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นอนุสตานุตริยะ
ส่วนการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ชื่อว่า อนุสตานุตริยะ.
อนุตริยะทั้ง 6 เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ทั้งที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตระ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
จบอรรถกถาอนุตตริยสูตรที่ 8